ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการเรียนกวดวิชา

      ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนกวดวิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน   8  ปัจจัย  โดยมี  2  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนกวดวิชาในระดับค่อนข้างสูง ได้แก่ 
-รายได้รวมของครอบครัว 
-คะแนนเฉลี่ยสะสม
ปัจจัยด้านรายได้รวมของครอบครัว  เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า  หากนักเรียนอยู่ครอบครัวที่มีความพร้อมและสามารถสนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่ายและการให้คำแนะนำ  ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ปกครองของนักเรียนมีการศึกษาสูง  แล้วนั้น  นักเรียนตัดสินใจเรียนกวดวิชาได้ด้วยการสนับสนุนดังกล่าว

ปัจจัยด้านคะแนนเฉลี่ยสะสม  ความคาดหวังในปัจจุบันจากการเรียนกวดวิชา  ทัศนคติของนักเรียนต่อการเรียนกวดวิชา  และการรับรู้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนในสถาบันกวดวิชา  ทำให้นักเรียนมีความต้องการ  มีความสนใจ  เป็นไปตามทฤษฎีลำดับความต้องการของมาสโลว์  นำไปสู่ทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้  ทฤษฎีความคาดหวัง และทฤษฎีการเลือกเชิงเหตุผล เป็นผลให้นักเรียนตัดสินใจในการเรียนกวดวิชาเพิ่มสนองความต้องการและความคาดหวังของตนเอง
                 ในส่วนของปัจจัยระดับชั้นเรียนที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนกวดวิชาในระดับต่ำแสดงให้เห็นว่า  นักเรียนตัดสินใจเรียนกวดวิชาในทุกระดับชั้นเรียนโดยหากมีระดับชั้นที่สูงขึ้นก็จะมีความต้องการหรือความสนใจในการเรียนกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งสวนทางกับนโยบายการศึกษาในปัจจุบันที่พยายามสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียน  ตัวอย่างเช่นการปฏิรูปการศึกษา  การจัดรายการสอนเสริมถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น